วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6

การเรียนรู้วิธีการสร้างบล็อกและการเรียนรู้ผ่านบล็อก
การเรียนรู้วิธีการสร้างบล็อกและการเรียนรู้ผ่านบล็อก เป็นการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ  ถือว่าเป็นสื่อที่ทันสมัย ที่สามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจในบทเรียนที่ครูผู้สอนถ่ายทอดได้ดี และยังเป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกสถานที่ที่มีระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งที่บ้าน   ที่โรงเรียน หรือตามที่สาธารณะต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีการปล่อยสัญญาณ Wireless ให้บริการหลายๆ สถานที่
ข้อดีของการทำบล็อก

1.    เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนออะไรก็ได้ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่นที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเอง
2.   ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตการทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้
4.   สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
5.   เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
ข้อเสียของการทำบล็อก
1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้

กิจกรรมที่ 5 การศึกษาดูงานประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์

1. ขั้นตอนในการศึกษาดูงาน มีดังนี้
1.1 เขียนโครงการ ตั้งงบประมาณในการไปศึกษาดูงาน
1.2 ขออนุมัติโครงการกับสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชเพื่อไปศึกษาดูงาน
1.3 นำหนังสือขอศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศเสนอกับ ผู้อำนวยการโรงเรียนและทำหนังสือไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3เพื่อขออนุญาตต่อ สพฐ.
1.4 รอคำสั่งอนุญาตของ สพฐ. เพื่อไปศึกษาดูงานยังต่างประเทศ
1.5 ออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 24 – 28 มกราคม 2554
2. บรรยากาศสิ่งที่ได้ พบเห็นนำมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการบริหาร
วันที่จันทร์ที่ 24 มกราคม 2554
                ออกเดินทางจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา เมื่อถึงด่านดำเนินการประทับตราหนังสือเดินทาง ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซีย และเดินทางเข้าสู่สถานที่ศึกษาดูงานแห่งแรก คือ Sekolah Kebangsaan Kodiag school ได้ดูระบบการจัดการเรียนการสอน เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีขนาดใหญ่มีความพร้อมและมีนักเรียนจำนวนมาก ข้าพเจ้าได้ไปดูบรรยากาศการสอนในชั้นเรียนที่มีภาษาในการสอนเป็นภาษามาเลเซีย ได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ มีการแสดงสามารถนำมาใช้กับการเรียนดนตรีในห้องเรียนได้
วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554
                ตื่นเช้าเวลา 05.00 น บ้านเรา แต่มาเลย์เวลา 06.00 น. อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม เดินทางออกจากโรงแรมไปยังป้อมปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก   เดินทางเข้าสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้ระยะทางประมาณ 800 กว่า ก.ม.ก็เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสองข้างทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์แวะชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย อนุสรณ์ทหารอาสา ถ่ายรูปที่ระลึกตึกแฝดที่เลื่องชื่อ หลังจากนั้นเดินทางสู่เกนติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูงด้วยกระเช้าไฟฟ้า(SKY WAY)ที่ทันสมัยและรวดเร็ว ปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้น ทึ่งกับทัศนียภาพของขุนเขา และเข้าพักที่โรงแรม พร้อมเดินชมศูนย์รวมความบันเทิง และบ่อนคาสิโนหลากหลายชนิด
วันพุธ ที่ 26 มกราคม 2554
                ออกจากเกนติ้งถึงเมืองใหม่ปุตราจายา ซึ่งเป็นเมืองใหม่ศูนย์รวมสถานที่ราชการของมาเลเซีย ชมตึกรัฐสภา มัสยิดสีชมพู เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองโยโฮบารูเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ เสร็จพิธีการ รับประทานอาหารเย็น เช็คอินเข้าสู่ที่พัก
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554
                เดินทางไปชม สิงโตพ่นน้ำ สัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นตามความคิดฝัน ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( ตื่นเต้นมากๆ)นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศรอบเกาะเซนโตซา รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์ ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย เข้าพักโรงแรม Selasa ซึ่งเป็นโรงแรมอยู่ชายแดนมาเลเซีย
วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554
                ซื้อของฝาก และเดินทางสู่ประเทศไทย รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย และเดินทางต่อถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 24.00 น.
สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน
                จากการได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่มากมายหลายอย่าง ได้เห็นกระบวนการการบริหารจัดการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน ได้เห็นสภาพบ้านเมือง วิถีการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองของทั้งสองประเทศ การปฏิบัติตามกฏจราจรที่เคร่งครัด และสภาพบ้านเมืองที่สวยงาม แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็คิดว่าไม่มีที่ไหนจะน่าอยู่ไปกว่าเมืองไทยของเรา

กิจกรรมที่ 4

จุดเด่น-จุดด้อย ของโรงเรียนวัดแดง  สพป.นศ.3
จุดเด่น
1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน สะอาด เรียบร้อย และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก
2. มีการจัดกิจกรรมเอื้อต่อการส่งเสริมสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านดนตรีและกีฬา
3. ส่งเสริมการประหยัดและอดออม
4. นักเรียนปลอดจากสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา
5. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรครู
6. ส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนและชุมชน โดยผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
จุดด้อย
1. สภาพอาคาร เก่า ชำรุด ทรุดโทรม ไม่เอื้ออำนวยในการจัดสภาพบรรยากาศในห้องเรียน และยังขาดห้องพิเศษ
2. พฤติกรรมของนักเรียนยังไม่เป็นที่พอใจ เช่น
          - กิริยามารยาท
          - การพูดจา
          - ความมีวินัย
3. นักเรียนยังขาดจิตสำนึกในด้านเหล่านี้
          - การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน
          - การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. นักเรียนยังขาดทักษะในการแสวงหาความรู้ เช่น การรักการอ่าน การใช้ห้องสมุด

               การจัดทำและจัดเก็บข้อมูลของโรงเรียน ซึ่งข้อมูลของแต่ละฝ่ายงานจะมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบค่อนข้างดีแต่มีปัญหาในการนำข้อมูลมาใช้บางครั้งหาค่อนข้างยาก ซึ่งปัญหานี้ควรแก้โดยการจัดทำทะเบียนควบคุมข้อมูลของแต่ละฝ่ายงาน โดยนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย

                ระบบนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานของสถานศึกษา คิดว่าการจัดทำบล็อคส่วนตัวของโรงเรียนน่าจะทำให้ระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนมีความคล่องตัวขึ้นและสะดวกในการค้นหา โดยการนำข้อมูลของแต่ละฝ่ายงานมาจัดเก็บมาไว้บนบล็อกดังกล่าว ทำให้ทุกคนในโรงเรียนสามารถดู ปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและทันสมัยได้ตลอดเวลาและสามารถลิงค์ดูข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนได้ด้วย

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 3 สรุปความรู้การใช้โปรแกรมspss

เปิดโปรแกรม spss
                คลิก Start -> All Programs -> SPSS
ต้องการให้หน้าจอแสดงภาษาไทย
        เลือกเมนู View -> Fonts(เลือก Font และ Size ตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK)
ชื่อฟอนต์ที่เป็นภาษาไทยส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วย UPC
ขั้นตอนการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการวิจัย
1.กำหนดค่าใน variable view
         - name  
พิมพ์  ชื่อ เพศ
,a1,a2,......,d3
         - width  
ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ

         - deimals
เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0)
         - value-
ใส่ค่า 1น้อยที่สุด 2น้อย 3ปานกลาง 4มาก 5มากที่สุด

     2.
พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(ตัวอย่าง20 ชุด)
     3.
การวิเคราะห์ข้อมูล
         - transform-compute-
พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
         -
เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก
ok
         - transform-compute-
พิมพ์หัวข้อ tbใน
target variable
         -
เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก
ok
         - transform-compute-
พิมพ์หัวข้อ tcใน
target variable
         -
เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก
ok
         - transform-compute-
พิมพ์หัวข้อ tdใน
target variable
         -
เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก
ok
         -
คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3  แล้วคลิก ok แสดงประมวลผลการใช้ใช้โปรแกรม SPSS

กิจกรรมที่2 แนะนำโรงเรียน